ก่อนหน้านี้เขียนบทความเกี่ยวกับหุ้น TOP 10 S&P 500 ที่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของโลกเปลี่ยนไป ไม่ว่าในเรื่องของเทคโนโลยี การทำงาน การบริโภค ซึ่งแต่ก่อนเคยมีคนบอกว่าซื้อ TOP 10 S&P 500 ไว้แล้วปิดจอรอ 10 ปีกำไรยาวๆได้เลย แม้แต่หุ้น Bluechips ไทยกับปู่ SET ดูท่าก็จะซ้ำรอยได้เหมือนกัน โดยในรายงานมาจากบทความของ GoldmanSachs: 25 Years on; Lessons from the bursting of the technology bubble
ซึ่งทำงาน Goldman Sachs ได้สะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน เมื่อฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยีในช่วงยุคดอทคอมแตกในปี 2000 ซึ่งส่งผลให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีหลายตัวร่วงลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในตลาด Nasdaq ที่มีสัดส่วนของหุ้นเทคโนโลยีสูงมาก
ในปี 2025 นี้ หุ้นเทคโนโลยีก็มีความผันผวนสูงเช่นกัน จึงเป็นจังหวะสำคัญในการวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต และมีความคล้ายหรือแตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร เพื่อให้สามารถนำบทเรียนในอดีตมาประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
💥 เหตุการณ์ฟองสบู่เทคโนโลยีในอดีต
ช่วงปี 1995–2000 นักลงทุนทั่วโลกตื่นเต้นกับการเข้ามาของ “อินเทอร์เน็ต” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกคาดหวังว่าจะเปลี่ยนโลกทั้งใบ นักลงทุนแห่กันไปซื้อหุ้นบริษัทดอทคอมต่าง ๆ จนราคาหุ้นพุ่งสูงเกินพื้นฐาน
ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าใน 5 ปี และมีหุ้นหลายตัวที่เพิ่มขึ้นหลายพันเปอร์เซ็นต์ภายในเวลาไม่กี่เดือน
- Nasdaq ร่วง 34% ภายใน 1 เดือนหลังพีค
- Priceline สูญเสียมูลค่าหุ้นไปถึง 94%
- Nasdaq ร่วงรวมเกือบ 80% ภายใน 2 ปี
📚 บทเรียนจากฟองสบู่
ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าเกือบทุกครั้งที่มีนวัตกรรมใหม่ จะมีฟองสบู่เกิดขึ้นตามมา
- ความตื่นเต้นต่อเทคโนโลยีใหม่ → ดึงดูดนักลงทุน
- มูลค่าหุ้นเกินจริง → คาดหวังเกินความเป็นจริง
- เกิดผู้เล่นจำนวนมาก → แข่งขันจนล้มตาย
- ผู้รอดคือผู้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิม
🤖 สถานการณ์ปัจจุบัน (2025): ไม่ใช่ฟองสบู่
หุ้นกลุ่ม “Magnificent 7” ยังคงแข็งแกร่งเพราะ:
- มีกำไรจริง มีเงินสด และหนี้ต่ำ
- PEG Ratio และ EV/Sales อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- การเติบโตสะท้อนจากรายได้จริง
แม้จะมีหุ้นบางกลุ่มที่อาจเก็งกำไรสูง แต่ภาพรวมของกลุ่มเทคโนโลยียังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย
⚠️ ความเสี่ยงที่ยังต้องจับตา
- ความเสี่ยงจากการกระจุกตัว: หุ้น Top 10 สหรัฐฯ ครองตลาดโลกถึง 20%
- ความเสี่ยงจาก CapEx: บริษัทใหญ่เร่งลงทุนใน AI อย่างรุนแรง
- ความเสี่ยงจากคู่แข่งใหม่: โดยเฉพาะจากจีนและสตาร์ทอัพ AI
🔄 วงจรของเทคโนโลยี
ทุกนวัตกรรมจะวนตามวัฏจักรเดิม:
- เทคโนโลยีใหม่เกิด → เงินลงทุนหลั่งไหลเข้า
- เกิดฟองสบู่จากความคาดหวังเกินจริง
- ฟองสบู่แตก → ผู้เล่นรายเล็กหาย
- เทคโนโลยีถูกใช้งานจริง → ก่อให้เกิดสิ่งใหม่
📈 คำแนะนำจาก Goldman Sachs
- กระจายการลงทุนจากแค่หุ้นผู้นำไปยัง “ผู้ใช้ AI เพื่อสร้างรายได้จริง” (AI Phase 3)
- อุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น พลังงาน ไฟฟ้า โลหะ อาจเติบโตจากความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- มองหาโอกาสใหม่ในกลุ่มหุ้นที่เน้นการสร้างรายได้ ไม่ใช่แค่โครงสร้าง AI
🧠 บทสรุป
หุ้นเทคโนโลยียุค 2020s มีพื้นฐานดีกว่ายุคดอทคอมมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสมอไป
นักลงทุนควรระวังการประเมินมูลค่าเกินจริง และควรติดตามการแข่งขันและเทรนด์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
บทเรียนสำคัญ: ผู้ชนะในอนาคต อาจยังไม่ถือกำเนิดในวันนี้ ดังจะเห็นได้จาก DeepSeek และ Manus!
ปล. นี่ไม่ใช่บทความชี้ชวน ชักชวน ให้ลงทุนแต่อย่างใด ผู้เขียนนำบทความของ GoldmanSachs มาเล่าต่อเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนกันด้วยนะ