Goal Setting

Personal OKRs

วันก่อนเขียนเหตุผลไปว่าทำไม OKRs จึงไม่ประสบความสำเร็จในองค์กร หรือการนำมาใช้ในทีม อย่างที่บอกไปตัว OKRs นั้นเป็น Concept ที่ใช้สำหรับกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด ซึ่งต้องชัดเจน วัดผลได้ มีกรอบเวลาชัดเจน และต้องเป็นเป้าที่ท้าทายแต่อยู่ในขอบเขตที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของ Personal OKRs กันบ้าง

ช่วงต้นปีแบบนี้เราก็มักจะเห็นหลายๆคนโพสต์ลง Social Network กับ New Year’s Resolution กัน บางคนบอกเราจะผอม เราจะเก่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผมก็เคยเป็น สุดท้ายแล้วมันก็จะเป็นเพียงแค่เป้าที่ตั้งไว้ แล้วมาดูอีกทีตอน Facebook แสดง History เมื่อปีที่แล้ว เฮ้ยยยย นี่กรูโพสต์ไปอย่างนี้จริงๆเหรอ (บางทีต้องแอบไป Edit หรือลบทิ้ง อิอิ)

ช่วงปีที่แล้วบริษัทเริ่มนำ OKRs เข้ามาใช้ แล้วก็ฟัง Podcast ของอาจารย์นภดล ร่มโพธิ์ (Nopadol’s Story Podcast) ก็แบบ เอออบริษัทเอา OKRs มาใช้แล้วมีปัญหาอย่างที่เล่าไป (ใครไม่ได้อ่านลองไปดูกันครับ Why OKRs Fail?) ลองเอาใช้กับตัวเองเป็นลักษณะของ Personal OKRs ดูซิ ในเรื่องของ Communication ไม่น่าจะมีปัญหาอยู่แล้วเพราะคุยกับตัวเอง ส่วน PDCA (Plan-Do-Check-Action) ก็น่าจะไม่มีปัญหาอีกเช่นกัน กอปรกับช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้วสุขภาพไม่ดีไขมันสูงด้วย เลยเอาวะ ลองเอา OKRs มาใช้ดูหน่อย ก็เลยกำหนดมาเป็นลักษณะนี้

  • Objective:
    • สุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น
  • Key Results:
    • ค่า LDL ไม่เกิน 100
    • ค่า Triglycerides ไม่เกิน 150
    • ปั่นจักรยานให้ได้ 1,200 กิโลเมตร (รวมเป้าสะสมก่อนหน้านี้ทั้งปีด้วย)

เรากำหนดเป้าหมายแล้ว เรามีตัวชี้วัดแล้ว ถ้าเราโพสต์เท่ห์ๆบน Facebook ก็จะได้ Like เพียบ หรือคนมากระทืบคอมเม้นต์กัน ซึ่งผมเหลือเวลาอีกประมาณ สองเดือนกว่าๆ ทำได้หรือไม่ได้ไม่รู้แต่ต้อง Execute ละ โดยที่ไม่ได้บอกใครไม่ได้โพสต์ป่าวประกาศ

My Personal OKRs 2020

ถ้าเห็นกราฟการปั่นสะสม ต้นปีก็หยิบมาปั่นแบบขี้เกียจๆ ช่วงกุมภาฯ หายไปหลายเดือน ตอน กรกฎา ปั่นแบบว่างก็ปั่นอยากปั่นก็ปั่น แต่พอมี ​OKRs มีกำหนด Objective แล้วเว้ย เราต้อง Execute แล้วนะ PDCA ต้องทำแล้ว ไม่งั้น ไม่ถึง Objective แน่ ซึ่งพอมีตัวชี้วัด ที่เราเห็นทุกวัน ปั่นสะสมได้เท่าไหร่แล้ว เราก็เริ่มจะวางแผนได้ละ ว่าเหลือเวลาอีกกี่วัน จะต้องซอยระยะ และเวลายังไง เพื่อให้ถึงเป้า

ซึ่งก็ปิดยอดท้ายปีไปได้ที่ 1,292 กิโลเมตร และค่า Triglycerides ก็กลับมาอยู่ที่ 128 ซึ่งก่อนหน้านี้เคยแตะไปสูงสุดถึง 230 เลยด้วยซ้ำ พอเราได้คุมอาหาร และออกกำลังกาย ผลมันก็ออกมาดี

จะว่าไปการปั่น 1,200 กิโลเมตร ที่มาฮึดเอาช่วงท้ายๆแบบนี้ยากมั้ย ก็ไม่ยากมาก แต่เป็นการท้าทายเล็กๆ เหมือนเราอยากสร้าง Small Win เป็นการปรับ mindset ก่อน ถามว่าผมตั้งเป็น 2,000 กิโลเมตรเลยได้มั้ย ก็ได้ ท้าทายมั้ย ท้าทาย แต่จะหมดกำลังใจก่อน และก็คงไม่พ้นมานั่งเขียนอีกบทความว่า Why Personal OKRs Fail?

Personal OKRs

สำหรับปีนี้ Personal OKRs ก็ยังใกล้ๆเดิมนั่นก็คือ

  • Objective:
    • สุขภาพดีและแข็งแรงขึ้น
  • Key Results:
    • ค่าผลเลือดทั้งไขมัน และ น้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ปั่นจักรยานให้ได้ 3,000 กิโลเมตรใน 1 ปี
    • ลดน้ำหนักให้ได้เหลือ 80 กิโลกรัม
  • Objective:
    • พัฒนาตัวเอง
  • Key Results:
    • อ่านหนังสือให้ได้ 12 เล่มใน 1 ปี
    • เขียน Blog ให้ได้อย่างน้อย 52 บทความใน 1 ปี
    • สวดมนต์และนั่งสมาธิอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

2 Objectives 6 Key Results เดี่ยวจะมารีวิวให้ฟังกันทุก 3 เดือน บางข้อหลายๆคนอาจจะดูง่ายๆ แต่อย่างที่บอก ไม่ต้องให้สำเร็จถึงขนาด 10 เท่าหรอกครับ ขอให้มี Execution ทำจริงจัง สร้างเป็น Small Win รับรองว่ามันจะเกิด Impact แน่นอนเหมือน Snowball Effect และที่สำคัญ OKRs มันเป็นเพียงแค่กรอบแนวทาง เราสามารถปรับแผนให้ท้าทายขึ้นได้เรื่อยๆอยู่แล้ว

อยากจะย้ำกันอีกทีเรื่องของ Key Result การกำหนดต้องวัดผลได้ ต้องชัดเจน มีกรอบเวลา ไม่งั้นถ้าตั้งเป็น เราจะผอม เราจะเป็นคนดี เราจะเก่งขึ้น คำถามก็คือ จะวัดจากอะไร ไม่งั้นสิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นเพียง Another New Year’s Resolution ที่เราโพสต์เท่ห์ๆ ไว้อีกเหมือนเดิม..

Author: Joe D.S.
Just a man on earth

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.