มุดเว็ปผ่าน Private DNS

นานๆเขียนทีระหว่างเดินทางมาทำงานที่ต่างจังหวัด นี่มาเขียนเพราะเห็นว่าเริ่มมีการ Block เว็ปไซต์หลายๆที่ วันนี้เลยจะมาเขียนเรื่องนี้ซะหน่อย ถ้าใครอยากช้ามภาคบรรยาย ไปภาคการ “ทดลองมุดเวปผ่าน Private DNS” ก็ข้ามไปท้ายๆได้เลยครับ

บทความนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้และเทคนิค ทางด้าน Internet เท่านั้น นะครับ

สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัย ย้อนกลับไปซักประมาณปี 40 มักจะมีหลายๆเวปที่ทางคณะก็ทำการ Block เหมือนกัน ซึ่งสมัยนั้นเรามักจะใช้อยู่สองเทคนิคง่ายๆ ก็คือ Web Proxy กับเข้าผ่านทางเวปแปลภาษา ซึ่งเดี่ยวนี้ก็ไม่ค่อยได้ใฃ้กันแล้ว ซึ่งวันนี้ในเรื่องของการ Block Service ต่างๆนั้นก็มีสารพัดเทคนิค ที่จะใช้กันบ่อยๆในองค์กรก็มีทั้ง Block URL, DNS, Port ส่วนนึงก็เพื่อควบคุมการใช้งานในร้านกาแฟ หรือแม้แต่ออฟฟิส ไม่ให้ Load Content ที่สุ่มเสี่ยง

โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ DNS หรือ Domain Name System กัน คำอธิบายง่ายๆของ DNS ก็คือระบบที่ใช้ในการแปลง www.google.com ให้กลายเป็น IP Address: 172.253.118.147 ที่เปรียบเสมือนบ้านเลขที่นั่นเอง

ซึ่งวิธีการ Block Web นั้นก็ง่ายมาก แทนที่จะตอบ IP Address ที่ถูกต้อง ก็ตอบเลขของเวปที่เอาไว้แสดงหน้าจอแจ้งเตือนก็แค่นั้นเอง ก็เหมือนเราถามเลขที่ของบริษัทนึง แต่ยามหน้าตึกบอกว่าบริษัทที่เราถาม ไม่ได้อยู่ตึกนี้แถมพาไปตึกอื่นอีก

ping www.change.org ผ่าน Workspace ที่เฃ่าอยู่ที่ AWS
ping www.change.org ผ่าน Tablet Android บนเครือช่าย TrueMove

จากสองรูปด้านบนที่ทดลอง Ping Web change.org จะเห็นได้ว่าการตอบกลับค่า IP Address นั้นแตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่า ISP ในประเทศไทยตอนนี้ทุกรายน่าจะส่งที่อยู่ใหม่เป็นหน้า Landing Page อื่นๆหรือว่าเป็น IP Address ที่ไม่ได้เป็น Web Site ใดๆแน่นอน

เกริ่นกันมาพอสมควร ในเมื่อ DNS Server ของ ISP ที่เราใฃ้บริการเลือกที่จะตอบที่อยู่ที่ผิดของเวปที่เราต้องการใช้งาน ทางแก้ก็คือถามที่อยู่จาก DNS Server ที่อื่นแทน ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายที่ แต่ที่นิยมมากๆก็คือ 8.8.8.8 ซึ่งเป็น DNS Service ของ Google นั่นเอง ใครที่มีความรู้สามารถ Config Router หรือ Access Point ที่บ้านก็แค่เข้าไปแก้ค่า DNS เป็นแบบ Manual Config เอง ซึ่งแก้ครั้งเดียวสามารถใช้ได้ยาวๆ ใฃ้ได้ทุกอุปกรณ์ในบ้าน

ทดลองใช้ Feature Private DNS บน Android OS

แต่วิธีที่ง่ายกว่านั้นบน Android OS Version 9 ขึ้นไปก็คือการใช้งานผ่าน Private DNS

วิธีการทดสอบก็ลองเข้าเวปต่างๆที่มีการบล้อคกันดูนะครับ อย่าลืมใส่ https:// นำหน้าด้วย

ปล1: ในยุคที่ Data is the new oil ข้อมูล DNS ต่างๆ แน่นอนย่อมมีการเก็บ Log ไว้ก็เป็นเหมือนหนึ่งใน Digital Footprint ของเรา ฉะนั้นการเลือกใช้ DNS Service ของใครก็ต้องระวังด้วย เหมือนยามที่พาเราไปที่อยู่ของบริษัทที่เราถาม แทนที่จะพาไปตึกที่ผิด แต่คราวนี้พาไปตึกที่มีการวางกับดักไว้ก็ได้

เรื่องการใช้งาน DNS แบบพลิกแพลงและน่าทดลองอีกหลายอย่าง เช่น project pi-hole ที่ใฃ้เป็น DNS Server สำหรับการ Block Ads

ปล2: ลองเข้าไปใช้เทคนิคมุดเวปผ่านบริการแปลภาษาก็ยังใช้งานได้แฮะ

หวังว่าเนื้อหาวันนี้ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับการใช้งาน Private DNS สำหรับเนื้อหาตอนถัดไปจะเกี่ยวกับเรื่องอะไรคงต้องคอยติดตามกัน ย้ำกันอีกครั้ง บทความนี้มีไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้นนะครับ

Goodnight from Chiangmai. zzz

Author: Joe D.S.
Just a man on earth

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.