วันนี้อาจจะมาแปลกๆหน่อย หลังจากเปลี่ยนสายงานมาทางด้าน Digital Asset เมื่อวานพอจบงาน Analyst Meeting บทสนทนาบนโต๊ะอาหารก็เกี่ยวกับเรื่อง Cheese และเห็นว่าไม่ได้อัพเดท Blog มาสักพัก เลยเอาเรื่อง Cheese มาเล่าสู่กันฟังซะหน่อย
ย้อนไปหลายปีก่อนผมมีอาการแพ้อาหารอย่างหนัก ต้องเข้า รพ. ฉีดยาแก้แพ้กันเลย ผื่นขึ้นไปทั้งตัว จนหมอกลัวว่าจะลามไปที่หลอดลมและจะหายใจไม่ออก สิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นต้นตอก็มาจากเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของ Blue Cheese ทีมีลักษณะเด่นสำคัญคือมีการเจริญเติบโตของรา เพนนิซิเลียม ซึ่งเติมเข้าไปเพื่อให้เกิดรอยด่างและรอยเส้นสีน้ำเงินของรา และนั่นก็ทำให้ผมแพ้อย่างหนัก ซึ่งปกติก็ทานชีสตามขนม อาหาร เป็นปกติอยู่แล้ว ใครจะไปคิดว่า Blue Cheese ที่อร่อย จะทำให้เราแพ้ได้ขนาดนั้น
ถัดจาก Blue Cheese ที่ทำให้ผมแพ้แล้ว เรื่องที่จะเล่าหลักๆในวันนี้ ก็มาจากประโยค”Rinse your cottage cheese” ถือเป็นหนึ่งในคำที่ก้องอยู่ในหัวตลอดการทำงาน หลังจากที่ได้รู้จักผ่านหนังสือเล่มนึง
ใครที่เคยอ่านหนังสือ Good to Great ของ Jim Collins จะมีอยู่ท่อนนึงที่เล่าถึงเรื่องของ Dave Scott ที่ชนะรายการแข่งขันไตรกรีฬา Ironman ถึง 6 สมัย แล้ว Cottage Cheese ซึ่งก็เป็น Cheese ประเภทหนึ่ง มีสีขาว เป็น Cheese สดที่มักทานคู่กับขนมปัง ซีเรียล มีโปรตีนสูง มีไขมันน้อย แล้วเจ้าชีสที่ว่านี้ กับ Dave Scott มาเกี่ยวอะไรกับการที่จะ Transform บริษัทจาก Good Company ไปเป็น Great Company ได้
ลองคิดดูว่าการที่จะเป็นแชมป์ ถึง 6 สมัยของรายการ Ironman ไม่ใช่เรื่องหมูๆเลย นอกจากการฝึกซ้อมอย่างหนัก เป็นระบบ มีวินัย โภชนาการก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อรีดทุกอย่างไปให้ถึงขีดสุด ไขมันส่วนเกินของ Cottage Cheese ในมื้ออาหารเทียบกับปริมาณโปรดตีนอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นที่สุด ของที่สุดแล้วละก็ เรื่องเล็กน้อยพวกนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ถ้าเทียบเรื่องของ Rinse the cottage cheese นี้ก็คงคล้ายกับ Concept ของ LEAN/Six Sigma ที่เป็นแนวคิดเรื่องของความสูญเปล่า (waste) และการกำจัดข้อบกพร่อง (defect elimination) เพื่อให้แน่ใจว่า มีการกำจัดความสูญเปล่าและข้อบกพร่อง ที่ทำให้ลูกค้าเสียเวลา เสียเงิน และมีความรู้สึกที่ไม่ดีออกไปในทุกกระบวนการ
Steve Jobs, an iPod and a fish tank: ถ้าใครอ่านประวัติของท่านศาสดา Steve Jobs ก็คงทราบดีว่าอยู่ในกลุ่ม Perfectionist แต่ด้วยเอกลักษณ์แบบนี้แหละที่ผลักดันให้สินค้าของ Apple เป็นที่น่าสนใจของตลาด นอกเหนือจากสินค้า Jobs เองยังผลักดันทีมงานของ Apple ด้วย เพื่อรีดทุกความสามารถออกมา เอาชนะ limit ทุกอย่าง ยกตัวอย่างเคสของ Ipod ที่เรียกว่าเป็นการปฎิวัติวงการ การฟังเพลงสมัยนั้นเลย ซึ่งเรื่องนี้ ก็ไม่ Confirm ว่า Based on True Story หรือไม่นะครับ แต่ผมว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเลยกับการ Rinse your cottage cheese
เรื่องเริ่มต้นจากทีม Engineer ของ Apple นำ Prototype ของเครื่อง Ipod รุ่นแรกมาเสนอให้กับทาง Jobs เพื่อของ Approve ซึ่งหลังจากการทดลองใช้งาน Function ต่างๆ แต่ก็มีความเห็นจาก Jobs ที่ต้องการให้เครื่องนั้นเล็กลงอีก ซึ่งทางทีม Engineer นั้นก็ตอบไปว่าคงไม่สามารถเป็นไปได้ หลังจากครุ่นคิดสักครู่ ท่านศาสดาของเราก็เอา Prototype นี้หย่อนลงในตู้ปลาซะเลย เมื่อเครื่องตกลงไปก้นตู้ ก็มีฟองอากาศลอยขึ้นมา
Those are air bubbles. That means there is space inside. Make it smaller ”
รีดให้สุด ในเมื่อยังมีอากาศอยู่ข้างในได้ นั่นก็หมายความว่ายังสามารถทำให้เล็กลงได้อีก ถ้าวันนั้น Jobs ยอมรับกับขนาดที่ใหญ่ของ Ipod ที่อาจจะรับได้ในเรื่องของการใช้งาน การยอมยกเว้นกับสิ่งที่สามารถเอาชนะได้ทางวิศวกรรม และการออกแบบ Ipod ที่ออกมา อาจจะไม่ดังเปรี้ยงปร้าง พลิกวงการการฟังเพลงอย่างที่ผ่านมาก็ได้
คราวนี้เรามาแตะเรื่อง Tech ซักหน่อย เด่วจะนึกว่ามาเขียนบทความ เตรียมขายคอร์ส เปิดตัว Life Coach เปลี่ยนมุมมาดูในตัวอย่างของอุปกรณ์ IoT กันบ้าง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ที่เป็น Sensor และทำงานใน Remote Site จะใช้ Battery เป็นตัวจ่ายพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น Smart Water Meter ที่สามารถทำงานได้ 5-10 ปี คิดว่าเราจะ LEAN หรือ Rinse the cottage cheese นี้ได้ยังไงบ้าง
- Every micro amp (μA) counts อุปกรณ์ IoT ประเภทที่ต้องใช้ Battery เป็นตัวจ่ายพลังงาน ถ้าต้องไปเปลี่ยนทุกเดือนคงเปลืองงบค่าจ้าง ค่าน้ำมัน ซึ่งค่าใช้จ่ายพวกนี้ถือเป็นต้นทุนทั้งสิ้น ฉะนั้นทำยังไงถึงให้ใช้พลังงานให้น้อยที่สุด โดยที่อุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้ เช่นการเลือก Component ให้เหมาะสม คำว่าเหมาะสม คือมาจากการคำนวน ไม่ใช่สะดวก เออ LDO เบอร์นี้ไม่มี ใช้เบอร์นี้ก็ได้ แต่ถามว่าถ้าเราจะรีดให้สุด เราจะยอมรับตรงนั้นมั้ย การระบายความร้อน การออกแบบลายวงจร ขนาดความหนานของทองแดง ปริมาณ Solider Paste ที่ใช้ ล้วนมีผลทั้งสิ้น
- Every line of code counts บางทีเมื่อเรา Design Hardware เสร็จแล้ว อาจจะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องของ Software มากนัก เนื่องด้วยปัจจุบัน Performance ของ Hardware นั้นจะเรียกว่าเหลือๆก็ได้ แต่การจะรีดไปให้สุดนั้น Software ก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก จำนวนบรรทัดของ Code จำนวนตัวแปรที่ใช้ Loop ต่างๆ ล้วนใช้พลังในการประมวลผลของ Micro controller และแน่นอนว่า ยิ่งประมวลผลนานก่อนที่จะเข้า Sleep Mode ก็หมายถึงพลังงานที่สูญเสียไป ถ้าจะรีดให้สุดจริงๆ ถึงต้องมีการ Optimize Code ให้เหมาะสม
ฟังดูมันก็เหมือนกับการเป็น Perfectionist แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว นักวิ่งบางทีก็ตัดสินกันด้วยเสี้ยววินาที บริษัทกำไร-ขาดทุนอาจจะมาจากการยอมในบางเรื่องแต่สุดท้ายกลายเป็นเสียหายมากกว่า โลกเราร้อนขึ้น น้ำกับน้ำแข็งมันก็ต่างกันแค่ 1 องศาฯเท่านั้น หรือในเคสของ Ipod ถ้าท่านศาสดายอมปล่อย Product ก่อนปรับปรุงออกมา ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จก็ได้
สุดท้ายก็อาจจะไม่เกี่ยวกับ Cheese ที่กินได้ซักเท่าไหร่ และผมก็ยังไม่กล้ากิน Blue Cheese อีกเลย แต่ถ้าเรา Adapt Concept ของ Rinse your cottage cheese ไปใช้ เชื่อว่าสิ่งที่ได้กลับมาจะคุ้มค่าอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย